โครงการ “พัฒนานวัตกรรมยางธรรมชาติไทย สู่อุตสาหกรรมโลก”
กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น ทำธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนำผลิตภัณ์ยาง ออกแบบเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต, ผลิตเป็นยางคอมพาวด์ และขึ้นรูปชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทาจากยาง ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆมากมาย เช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมรองเท้า ฯลฯ มีกำลังการผลิตกว่า 90,000 ตันต่อปี เพื่อผลิตและจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ มานานกว่า 35 ปี ภายใต้การขับเคลื่อนธุรกิจโดย ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล ท่านมีแนวคิดในการเข้าช่วยเหลือและพัฒนายางธรรมชาติของไทยจากเกษตรกรสวนยาง พัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติที่มีคุณสมบัติพิเศษตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมโลก ภายใต้การสนับสนุนบัตรส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นโดย บจ. พีไอ อินดัสทรี, ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางเครือข่ายปะเหลียน และศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ การยางแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายสูงสุดคือ “Sustainable Natural Rubber Initiative”
วัตถุประสงค์ของโครงการ
♦ พัฒนาศูนย์กลางคลังสินค้า เพื่อการบรรจุ การเก็บ และการจัดจำหน่าย
ที่มาและวัตถุประสงค์
ปัจจุบัน แต่ละสหกรณ์ไม่มีอุปกรณ์ในการบรรจุหีบห่อ และมีพื้นที่จำกัดในการเก็บยางธรรมชาติ ที่ผลผลิตเสร็จแล้ว เมื่อมีคำสั่งซื้อยางมัดก้อนหรือยางอัดก้อนใส่ถุงก็จะรวมกลุ่มสมาชิก และช่วยบรรจุใช้อุปกรณ์เท่าที่มี ไม่มีระบบเครื่องจักรมาช่วยในการบรรจุ และไม่มีชั้นวางสินค้าได้อย่างปลอดภัยและประหยัดพื้นที่ เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาในปริมาณมากขึ้น เช่น 1 คันรถ หรือประมาณ 15 ตัน ทางสหกรณ์ก็จะใช้เวลาในการบรรจุค่อนข้างนาน ทำให้บางครั้งไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้าได้ จึงเสียโอกาสทางการขาย
กระบวนการพัฒนา
- จัดตั้งศูนย์กลางสินค้า ปรับปรุงสถานที่ กำหนดพื้นที่การทำงานในส่วนต่างๆ ให้เหมาะสม เช่น พื้นที่รับยางแผ่นเปลือย พื้นที่รอทดสอบคุณภาพ พื้นที่การมัดก้อน และพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป
- ติดตั้งเครื่องจักร และสายพาน เพื่อเพื่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการบรรจุสินค้า
- ติดตั้งชั้นวางสินค้าเพื่อทำให้สามารถจัดเก็บสินค้าในปริมาณที่มากขึ้นในพื้นที่ที่มี
อุปกรณ์ เครื่องมือ ระบบ |
ก่อน |
หลัง |
||
มี |
ไม่มี |
มี |
ไม่มี |
|
ปรับปรุงสถานที่ กำหนดพื้นที่การทำงานในส่วนต่างๆ |
⁄ |
⁄ |
||
ระบบไฟฟ้า |
|
⁄ |
⁄ |
|
เครื่องอัดก้อนยาง |
⁄ |
⁄ |
||
สายพานลำเลียง |
⁄ |
⁄ |
||
เครื่องชั่งน้ำหนัก |
⁄ |
⁄ |
||
เครื่องซีลระบบสุญญากาศ |
⁄ |
⁄ |
♦ จัดตั้งห้องทดสอบเพื่อออกใบรับรองคุณภาพสินค้า
ที่มาและวัตถุประสงค์
ปัจจุบันทางกลุ่มสหกรณ์ไม่มีห้องทดสอบคุณภาพของยางธรรมชาติที่จำเป็นต้องระบุใบรับรองสินค้า จึงไม่สามารถออกใบรับรองสินค้าให้กับลูกค้าได้ และไม่สามารถรับรองคุณภาพยางธรรมชาติที่ขายให้กับลูกค้าได้
กระบวนการพัฒนา
- จัดเตรียมเครื่องมือ และระบบสำหรับทดสอบคุณสมบัติของยางเพื่อออกใบรับรองคุณภาพของยาง และสร้างฐานข้อมูลคุณภาพสินค้าเพื่อที่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
อุปกรณ์ เครื่องมือ ระบบ |
ก่อน |
หลัง |
||
มี |
ไม่มี |
มี |
ไม่มี |
|
ระบบจัดเก็บข้อมูล และออกใบรับรองคุณภาพ |
⁄ |
⁄ |
||
เครื่องทดสอบมูนนี่ |
|
⁄ |
⁄ |
|
คอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ |
⁄ |
⁄ |
||
เครื่องพิมพ์เลเซอร์สำหรับออกใบรับรองคุณภาพ |
⁄ |
⁄ |
||
เครื่องสแกนบาร์โค้ด |
⁄ |
⁄ |
♦ สร้างระบบนวัตกรรมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางด้านคุณภาพ ทางด้านการตลาด ทางด้านสิ่งแวดล้อม และต่อชุมชนและเกษตรกร
ที่มาและวัตถุประสงค์
ยางธรรมชาติในประเทศไทยมีการผลิตกันมาอย่างยาวนาน และมีการพัฒนาเพื่อให้ยางธรรมชาติมีคุณภาพที่ดีขึ้น แต่ยังขาดระบบการจัดการ การเก็บข้อมูล การนำข้อมูลไปต่อยอดในการพัฒณาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนที่สามารถกลับและทวนสอบได้
กระบวนการพัฒนา
1.ทำระบบเอกสาร Barcode และอบรมกลุ่มสหกรณ์ให้ใช้ระบบ ตั้งแต่กระบวนการรับน้ำยาง แปรรูป น้ำยางเป็นยางแผ่น ควบคุมคุณภาพไปจนถึงการบรรจุ การจัดเก็บ และการจัดจำหน่าย
อุปกรณ์ เครื่องมือ ระบบ |
ก่อน |
หลัง |
||
มี |
ไม่มี |
มี |
ไม่มี |
|
ระบบการจัดการ และเก็บข้อมูล |
⁄ |
⁄ |
||
กล่องสำหรับบรรจุยางแผ่นเปลือย |
|
⁄ |
⁄ |
|
คอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ |
⁄ |
⁄ |
||
เครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด |
⁄ |
⁄ |
||
เครื่องสแกนบาร์โค้ด |
⁄ |
⁄ |